วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554



ถั่วเหลือง (Soybean, Glycine max (L.) Merrill) เป็นพืชเศรษฐกิจที่เหมาะสำหรับปลูกสลับกับการปลูกข้าว ได้มีรายงานการปลูกถั่วเหลืองในประเทศจีนเมื่อเกือบ 5,000 ปีมาแล้ว แต่ก็ยังไม่แน่ชัดว่าส่วนใดของประเทศจีนเป็นถิ่นกำเนิดที่สันนิษฐานและยอมรับกันโดยทั่วไปคือบริเวณหุบเขา  แม่น้ำเหลือง (ประมาณเส้นรุ้งที่ 35 องศาเหนือ)

เพราะว่าอารยธรรมของจีนได้ถือกำเนิดที่นั่น และประกอบกับมีการจารึกครั้งแรกเกี่ยวกับถั่วเหลือง   เมื่อ 2295 ปีก่อนพุทธกาล ที่หุบเขาแม่น้ำเหลือง จากนั้นถั่วเหลืองได้แพร่กระจายสู่ประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น เมื่อ 200 ปีก่อนคริสตกาล แล้วเข้าสู่ยุโรปในช่วงหลัง พ.ศ. 2143 และไปสู่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2347 จากนั้นกว่า 100 ปี ชาวอเมริกันได้ปลูกถั่วเหลืองเพื่อเป็นอาหารสัตว์ใช้เลี้ยงวัวโดยไม่ได้นำเมล็ดมาใช้ประโยชน์อย่างอื่น จนถึงปี พ.ศ. 2473 สหรัฐอเมริกาได้นำพันธ์ถั่วเหลืองจากจีนเข้าประเทศกว่า 1,000 สายพันธุ์ เพื่อการผสมและคัดเลือกพันธุ์ ทำให้ได้เมล็ดพันธุ์ที่มีเมล็ดโต ผลผลิตสูง เหมาะแก่การเพาะปลูกเพื่อผลิตเมล็ดมากขึ้น ถั่วเหลืองของไทยส่วนมากปลูกแถบ ภาคเหนือ  และภาคกลาง ตอนบน นิยมเรียกกันในภาษาไทยโดยทั่ว ๆ ไปหลายชื่อ เช่น ถั่วพระเหลือง ถั่วแระ ถั่วแม่ตาย ถั่วเหลือง (ภาคกลาง) มะถั่วเน่า (ภาคเหนือ) เป็นต้น 

ข้อมูลทางพันธุศาสตร์
               ได้มีผู้พยายามลดขนาดของวงศ์ Leguminosae ให้เล็กลง โดยการตั้งวงศ์ Fabaceae เมื่อราว 25 ปีมาแล้ว แต่นักพฤกษศาสตร์ยังนิยมจัดถั่วเหลืองอยู่ในวงศ์ Leguminosae แล้วจัดวงศ์ Fabaceae เป็นวงศ์ย่อย ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่วเหลืองมีหลายชื่อ เช่น Glycine soja, Soja max, Phaseolus Max, Dolichos soja แต่ที่ยอมรับกันในปัจจุบันคือ Glycine max (L.) Merr.

ลักษณะทางกายภาพของถั่วเหลือง

             ถั่วเหลืองเป็นเมล็ดพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นแหล่งที่ดีของไขมันและโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมล็ดถั่วเหลืองมีหลายขนาดและหลากหลายสีรวมถึงสีดำ สีน้ำตาล สีฟ้า สีเหลืองเปลือกถั่วเหลืองที่แก่แล้วจะแข็งแรงทนต่อน้ำ ถ้าส่วนห่อหุ้มเมล็ดแตก ถั่วเหลืองอาจจะไม่งอก รอยที่คล้ายๆแผลเป็นสามารถเห็นได้ชัด บนส่วนห่อหุ้มเมล็ดเรียกว่า hilum หรือ แผลเป็นบนเมล็ดพืช และเป็นคล้ายรูเปิดเล็กๆที่สามารถดูดซึมน้ำ เข้าไปได้แต่ที่น่าสังเกตุ เมล็ดถั่วเหลืองบรรจุโปรตีนไว้สูง และสามารถทำให้แห้งโดย ไม่เสียหายและสามารถทำให้้ฟื้นกลับมาโดยการใส่น้ำ
            ถั่วเหลืองเป็นพืชล้มลุก ลำต้นสูงประมาณ 1-2 เมตร ลำต้นสี่เหลี่ยมปกคลุมด้วยขนสีเทาขาว ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ ใบประกอบด้วยใบย่อย 3 ใบ รูปร่างคล้ายรูปไข่ปลายแหลมใบค่อนข้างหนา ผิวมันทั้งด้านบนและด้านล่าง ดอกเป็นช่อสีขาวหรือม่วงแดง ออกดอกเมื่ออายุประมาณ 25-30 วันเก็บเกี่ยวอายุประมาณ 90-100วัน ฝักแบนขาวติดเป็นกระจุกที่ข้อของต้น และกิ่งในฝักมีเมล็ด 3-5 เมล็ดรูปไข่ เมล็ดกลม ผิวสีเหลืองมันตาค่อนข้างลึกสีน้ำตาลอ่อน
ส่วนประกอบทางเคมี
           
น้ำมันและโปรตีนมีอยู่ในถั่วเหลืองทั้งคู่ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของถั่วเหลืองโดยน้ำหนัก โปรตีน 40 เปอร์เซ็นต์ น้ำมัน 20 เปอร์เซ็นต์   ส่วนที่เหลือเป็นคาร์โบไฮเดรต 35 เปอร์เซ็นต์ ความร้อนเสถียรในการเก็บโปรตีนมีส่วนกับโปรตีนถั่วเหลืองส่วนใหญ่ ความร้อนเสถียรนี้ทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองต้องการความร้อนสูง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง ในการทำ ตั้งแตคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองถูกพบเป็นส่วนใหญ่ในเวย์ หรือ หางนม และถูกทำลายลงระหว่างการเดือดเป็นฟอง เต้าหู้ ซอสถั่วเหลือง จะไม่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะหรือลำไส้
ถั่วเหลืองกับการดัดแปลงพันธุกรรม                ถั่วเหลืองเป็นอาหารที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมชนิดหนึ่ง ตัวเลขของผลิตภัณฑ์ใช้ถั่วเหลืองที่ดัดแปลงพันธุกรรมมีมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2538 (ค.ศ.1995)บริษัทที่ชื่อว่าmonsanto ได้นำเข้าถั่วเหลืองที่มีการคัดลอกยีนมาจากแบคทีเรียม(bacterium)ที่ชื่อว่า Agrobacterium ซึ่งทำให้พืชถั่วเหลืองสามารถทนต่อการพ่น herbicide ยีนของบัคเนเรียคือ EPSP (5-enolpyruvyl shikimic acid-3-phosphate) ถั่วเหลืองโดยทั่วๆไปจะมียีนนี้อยู่แล้วแต่จะไวต่ิอ glyphosate แต่พันธุ์ที่ดัดแปลงใหม่จะทนได้
การปลูกถั่วเหลืองในประเทศไทย
             
ไม่มีหลักฐานว่าเริ่มปลูกถั่วเหลืองครั้งแรกเมื่อใด แต่เชื่อกันว่าชาวจีนที่อพยพมาได้นำถั่วเหลืองเข้ามาด้วยเมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว ได้มีการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองอย่างจริงจังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ทำให้มีถั่วเหลืองพันธุ์ดีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันการผลิตถั่วเหลืองในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ และทำให้ต้องมีการนำเข้าถั่วเหลืองจากต่างประเทศ
 
                 การปลูกถั่วเหลืองปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 10 พันธุ์ ปรับปรุงโดยกรมวิชาการเกษตร คือ สจ.4 สจ.5 สุโขทัย 1 สุโขทัย 2 สุโขทัย 3 นครสวรรค์ 1 เชียงใหม่ 60 เชียงใหม่ 2 เชียงใหม่ 3 เชียงใหม่ 4 ถั่วเหลืองที่ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ถั่วเหลืองขึ้นมาใหม่ คือ “พันธุ์ศรีสำโรง 1” ซึ่งให้ผลผลิตสูง มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น ทั้งยังสามารถต้านทานโรคราน้ำค้างได้ดี สำหรับพันธุ์ สจ.4 สจ.5 และ เชียงใหม่ 60 เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในประเทศไทยสามารถปลูกถั่วเหลืองได้ทั้งปี ปีละ 3 ฤดู การปลูกอาจต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน pH ประมาณ 5.5-6.5 และเตรียมเมล็ดโดยการคลุกเชื้อไรโซเบียม การคลุกเชื้อไรโซเบียมต้องใช้เชื้อที่ใช้กับถั่วเหลืองเท่านั้น ถั่วเหลืองต้องการน้ำประมาณ 300-400 มิลลิลิตรตลอดฤดูปลูก ช่วงที่สำคัญที่ไม่ควรขาดน้ำคือช่วงการงอกและช่วงออกดอก อายุการเก็บเกี่ยวของถั่วเหลืองจะขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ซึ่งอยู่ในช่วงประมาณ 60-110 วัน
ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
                การแปรรูปถั่วเหลืองให้ได้ผลิตภัณฑ์อาหารที่หลากหลายขึ้นและเป็นที่นิยมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งได้เป็นกลุ่มใหญ่ดังนี้ น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชน้ำมันที่สำคัญในหลายประเทศอาหารที่ทำจากถั่วเหลือง ประเทศในแถบเอเชีย เช่น ไทย  จีน ญี่ปุ่น และประเทศอื่นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมักและผ่านการหมัก ก่อน ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านการหมัก เช่น น้ำนมถั่วเหลือง เต้าหู้ ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง เช่น ถั่วเน่า เทมเป้ ซอสถั่วเหลือง เต้าเจี้ยว เป็นต้นโปรตีนจากถั่วเหลือง หลังจากการสกัดน้ำมันถั่วเหลืองด้วยตัวทำละลายแล้ว ส่วนที่เหลือ     จะเป็นเนื้อถั่วทีอุดมด้วยโปรตีน สามารถแปรรูปเป็นอาหารหลายชนิด เช่น เนื้อเทียม (โปรตีนเกษตร) แป้ง เบเกอรี่ ทำโปรตีนเข้มข้น หรือผ่านกรรมวิธีเพื่อแยกเอาโปรตีนบริสุทธิ์ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้จากการแปรรูปถั่วเหลือง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ขึ้นเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคในหลายๆ ประเทศ เพื่อเป็นการขยายตลาดและเพิ่มความนิยมในการบริโภคถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาขึ้นใหม่ เช่น ไอศกรีม โยเกิร์ตถั่วเหลือง เนยถั่วเหลือง เป็นต้นอาหารเสริมจากถั่วเหลือง เนื่องจากถั่วเหลืองมีสารเคมี ที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น เลซิติน โอลิโกแซคคาไรด์ วิตามินอี สเตอรอล ไฟเตทเป็นต้น สามารถใช้ถั่วเหลืองเพื่อช่วยเพิ่มเยื่อใยและคุณค่าทางอาหาร
รสชาติและสรรพคุณ
               รสหวาน บำรุงม้าม ขับแห้ง สลายน้ำ ขับร้อน ถอนพิษ แก้ปวด มักใช้บำบัดอาการลำไส้ทำงานไม่ปกติ โรคบิด แน่นท้อง ผอมแห้ง แผลเปื่อย
วิธีเตรียมดินและการปลูกในฤดูฝน
             การปลูกถั่วเหลืองในฤดูฝน การเตรียมดินเหมือนกับพืชไร่อื่นๆ คือ ไถแล้วพรวน 1-2 ครั้ง ขึ้นกับสภาพดิน และให้มีความลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ปรับระดับหน้าดินให้สม่ำเสมอไม่ให้มีน้ำขัง และมีการขุดร่องโดย รอบแปลงปลูกเพื่อระบายน้ำได้สะดวก ในขณะปลูกดินควรจะมีความชื้นที่ดีเพื่อให้เมล็ดงอกอย่างรวดเร็ว ดินที่จับตัวเป็นแผ่นแข็งที่หน้าดินหลังฝนตกหนักและแห้ง จะทำให้ต้นกล้าไม่สามารถงอกทะลุผิวดินขึ้นมาได้ ทำให้ความงอกไม่สม่ำเสมอ ดังนั้นดินที่เป็นดินเหนียว ดินร่วนปนเหนียวจึงไม่ควรเตรียมดินให้ละเอียดนัก

               การปลูกมีหลายวิธี เช่น โรคเมล็ดเป็นแถว และหยอดเป็นหลุม ให้ลึก 2-3 เซนติเมตร แต่ที่ให้ผลดี คือหยอดเมล็ด ในหลุมที่เตรียมไว้    โดยมีระยะระหว่างแถวและระหว่างต้น ที่พอเหมาะกับการเจริญเติบโต คือ 50x20 เซนติเมตร ปลูกหลุมละ 3-4 เมล็ด ใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 7 กิโลกรัมต่อพื้นที่ปลูก 1 ไร่ หากเมล็ดพันธุ์มีความงอกต่อจะต้องเพิ่ม ปริมาณหยอดเมล็ดต่อหลุมให้มากขึ้น

              พื้นที่ที่ไม่เคยปลูกถั่วเหลืองมาก่อนหรือดินที่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไปเหล่านี้ ควรปรับสภาพดินให้เหมาะสมก่อน และคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยเชื้อไรโซเบียมก่อนปลูก จะทำให้เพิ่มผลผลิตได้มาก
การปฏิบัติ ดูแลรักษา               1. การให้น้ำ ในฤดูแล้งควรให้น้ำประมาณ 5-6 ครั้งตลอดฤดูปลูกโดยให้ครั้งแรกก่อนปลูก ครั้งต่อๆไปใหทุก 10-14 วัน อีก 4-5 ครั้ง แล้วแต่ความชุ่มชื้นของดิน เนื่องจากความสามารถในการอุ้มน้ำของดินแตกต่างกันไป ควรจะสังเกตใบถั่วเหลืองประกอบด้วย เช่น โดยปกติใบถั่วจะเหี่ยวใบตอนบ่าย และจะคืนตัวเป็นปกติในตอนเย็น หากเห็นว่าในตอนเย็นหรือตอนเช้า ใบถั่วยังมีอาการเหี่ยวไม่เป็นปกติ ก็ควรจะให้น้ำได้การให้น้ำควรให้พอดี ไม่ควรให้น้ำท่วมแปลงถั่วเหลืองเกิน 1-2 วัน ถ้าให้มากเกินไป หรือดินชั้นล่างแฉะ จะสังเกตเห็นใบเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองก้านใบและเส้นใบจะเปลี่ยนเป็นสีม่วงให้รีบระบายน้ำออกทันที และลดการให้น้ำครั้งต่อไปให้น้อยลง หรือยืดช่วงเวลาให้น้ำครั้งต่อไปนานกว่าเดิม ควรระวังอย่าให้ขาดน้ำในช่วงที่ออกดอกและติดฝัก หยุดให้น้ำเมื่อฝักเริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นเหลือง
             
 
2. การพรวนดินและดายหญ้า ควรทำอย่างน้อย 2 ครั้ง ในระยะที่ต้นถั่วอายุไม่เกิน 30 วัน หลังจากนี้แล้วถั่วจะเริ่มออกดอก การพรวนดินจะกระเทือนระบบรากและอาจทำให้ดอกร่วงได้ และในระยะที่ถั่วออกดอก ต้นถั่วจะแผ่กิ่งก้านมากพอที่จะปกคลุมดิน ป้องกันวัชพืชเจริญเติบโตได้ ปัญหาที่พบมากในการปลูกถั่วเหลืองฤดูแล้งในนาข้าวคือ วัชพืช โดยเฉพาะหญ้าและลูกข้าวจะงอกขึ้นมาเมื่อ ได้รับน้ำ จึงควรกำจัดพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ตามความจำเป็น หากอายุเกิน 30 วันแล้วไมควรทำอีกการดูแลแปลงปลูกถั่วเหลืองในระยะ 1 เดือนแรก ให้ปลอดจากวัชพืชรบกวนได้ นับว่าสำคัญที่สุดในการเพิ่มผลผลิต ถั่วเหลือง
           
 
3. การบำรุงดิน ในดินที่อุดมสมบูรณ์แล้ว เมื่อใส่ปุ๋ยไนโตรเจนลงไปอาจทำให้ถั่วเหลืองเฝือใบได้ และเป็นการเพิ่มต้นทุนการผลิตโดยไม่จำเป็นแต่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำจะต้องใช้ปุ๋ยเคมีช่วย และควรให้ปุ๋ยถูกต้องกับความต้องการของถั่วเหลืองด้วย
ในดินที่ได้ทำการเกษตรกรรมมานาน ปริมาณธาตุอาหารในดินย่อมลดน้อยลง โดยเฉพาะไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ส่วนโปแตสเซียมพื้นที่ส่วนใหญ่จะมีปริมาณเพียงพอ แต่ถ้าดินขาดธาตุโปแตสเซียมแล้วถั่วเหลืองจะมีอาการตอบสนองต่อปุ๋ยได้ง่าย โดยเฉพาะในดินทรายถึงร่วนปนทรายพบว่าในดินที่ขาดธาตุโปแตสเซียม ถ้ามีการให้ปุ๋ยโปแตสเซียมช่วยแล้ว จะให้ผลดียิ่งขึ้น ผลผลิตจะเพิ่มและเปอร์เซนต์น้ำมันในเมล็ดจะเพิ่มขึ้นด้วย นอกจากความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปฏิกิริยาความเป็นกรดหรือเป็นด่างของดินก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อ ความเจริญเติบโตของถั่วหลืองและ ประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ย ถั่วเหลืองจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีความ เป็นกรดและด่างของดินประมาณ 5.5-6.5 สำหรับดินปนทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงหรือต่ำไม่ช่วยให้เพิ่มผลผลิตสูงได้ เนื่องจากการสูญเสียไนโตรเจนไปอย่างรวดเร็ว แต่การใช้เชื้อไรโซเบี่ยมคลุกเมล็ดก่อนปลูกจะมีผลดีกว่าการ ใช้ปุ๋ยไนโตรเจน

โรคถั่วเหลือง
โรคต่างๆ ที่สำคัญของถั่วเหลืองได้แก่

                1. โรคราสนิม อาการของโรค อาการจะปรากฏบนใบจริงคุ่แรกของต้นถั่วเหลืองที่มีอายุตั้งแต่ 2 สัปดาห์ หรือเมื่อเริ่มออกดอก โดยพบแผลลักษณะเป็นจุดสีน้ำตาลเล็กๆ ทางด้านใต้ใบ ต่อมาจุดสีน้ำตาลนี้จะขยายนูนขึ้นมาดูคล้ายขุยผงสีน้ำตาลหรือสีสนิม เมื่อถึงระยะนี้เชื้อโรคจะแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทำให้ใบแสดงอาการจุดเล็กๆ ทั่วทั้งใบ ใบที่เป็นโรคจะร่วงก่อนแก่ฝักที่มีอยู่อาจเล็กผิดปกติหรือลีบไม่มีเมล็ดการป้องกันกำจัด
                    1.ใช้พันธุ์ต้านทานโรค คือ เชียงใหม่ 60
                    2. ปลูกพืชหมุนเวียนอื่น ๆ ยกเว้นมันแกว
                    3. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากเชื้อโรค
                    4. ฉีดด้วยสารเคมี แมนเซท-ดี หรือไดเทนเอ็ม-45 อัตรา 30-40 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วโดยเฉพาะตรงใบล่างๆ ตั้งแต่อายุ  40 วัน และฉีดหลังจากนี้อีก 2ครั้ง ห่างกัน 7วัน ถ้าไม่ปรากฏอาการของโรคก็ไม่ต้องฉีด
                2. โรคราน้ำค้าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา เกิดทั่วๆไปในแหล่งที่ปลูกที่มีอากาศค่อนข้างเย็น ผลผลิตเสียหายได้ทั้งใบและเมล็ด
อาการของโรค ขึ้นแรกจะเห็นเป็นจุดขนาดเล็กสีเขียวอ่อนทางด้านบนของใบ ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีเทา-น้ำตาล หรือเป็นแผลสีน้ำตาล-ดำ 
โดยมีขอบแผลสีเหลืองเขียวใต้ใบ ในตอนเช้า ๆ ที่มีน้ำค้าง แผลจะมีกลุ่มของเส้นใยสีเทาอ่อนและสีเทา-ม่วงขึ้นปกคลุม ใบที่เป็นโรคมากจะเหลือง  และกลายเป็นน้ำตาล และร่วง โรคนี้เกิดกับฝักได้ ภายในฝักและเมล็ดจะห่อหุ้มอย่างแน่หนาด้วยเชื้อราสีเทาอ่อน เมล็ดถั่วเหลืองเหล่านี้เมื่อนำไปปลูกจะเป็นโรคได้อีก โดยจะสังเกตใบที่งอกใหม่อายุ 2 สัปดาห์จะเห็นจุดขนาดใหญ่บนใบคู่แรกและใบคู่ที่ 2 และต้นกล้าจะตายไป
การป้องกันกำจัด
                   1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรค
                   2. ทำลายซากพืชที่เป็นโรคหลังการเก็บเกี่ยว
                   3. ใช้สารเคมีคลุกเมล็ดพันธุ์เช่น แคปแทน หรือ ไดโฟลา-แทน ในอัตรา 1-2.5 กรัม ต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม หรือใช้เอพรอน                        ในอัตรา 7 กรัมคลุกเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จะลดปริมาณของเชื้อโรคลงได้ลง
               3. โรคใบจุดนูนหรือแบคทีเรียพัสตูล สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย อาการของโรค อาการเริ่มแรกเกิดเป็นจุดสีเหลืองแกมเขียวและมีรอยนูนเล็ก ๆ ขึ้นมาตรงกลางแผล พบอาการทั้งด้านใต้ใบและบนใน ต่อมาจะพบเป็นรอยแผล เป็นกลุ่มกระจายทั่วไปและมีสีน้ำตาลแดง มีรอยสีเหลืองซีดล้อมเป็นวงรอบแผลเมื่อแผลแห้งจะตกสะเก็ดเป็นรอยบุ๋มลึกลงไปกลางแผลแผลอาจเกิดเป็นรอย ติดต่อกันเป็นสีน้ำตาล เข้มขนาดใหญ่ และมีรอย สีเหลืองล้อมรอบ แผลอาจมีการฉีกขาดออกไปได้ง่าย โรคนี้จะระบาดมากในฤดูฝน การป้องกันกำจัด
                  1. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรค
                  2. ใช้พันธุ์สุโขทัย 1 นครสวรรค์ 1 ซึ่งต้านทานโรคใบจุดนูน
                  3. ป้องกันแมลงไม่ให้ทำแผลบนส่วนต่าง ๆ ของพืช

             
4. โรคเน่าคอดินและโรครากเน่า สาเหตุ เกิดจากเชื้อราหลายชนิดที่ติดมาในเมล็ด อยู่ในดิน เศษซากพืช หรืออื่น ๆ อาการของโรค ที่เห็นชัดคือต้นถั่วเหลืองไม่งอก โดยที่เมล็ดเน่าก่อนงอก หรือต้นเน่าก่อนโผล่ออกมาเหนือดิน หรือเมื่องอกโผล่พ้นผิวดินรากและโคนต้นกล้าเน่าทำให้ลำต้นหักพับตาย บางครั้งอาจพบเส้นใยเชื้อรา สีขาวขึ้นตรงบริเวณระดับดินเกิดเป็นหย่อน ๆ บริเวณดินที่มีการระบายน้ำไม่ได้ น้ำขัง การป้องกันกำจัด
                  1. เตรียมดินให้มีการระบายน้ำดี
                  2. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สมบูรณ์ปราศจากโรค มีเปอร์เซนต์ความงอกสูง
                  3. คลุกเมล็ดก่อนปลูกโดยใช้สาร แคปแทน หรือไดโฟลาแทน อัตรา 1-2.5 กรัม/น้ำหนักเมล็ด 1 กิโลกรัม การคลุกเมล็ดต้องคลุกให้ทั่วถึง
              5. โรคใบโกร๋นหรือแอนแทรกโนส สาเหตุ  เกิดจากเชื้อรา อาการของโรค อาการบนใบ ก้านใบ กิ่ง ก้านฝักและฝัก พบ
ลักษณะเป็นจุดแผลสีน้ำตาลเข้ม อาจพบมีวงสีเหลืองล้อมรอบหรือไม่ก็ได้ ขนาดของแผลมีได้ตั้งแต่จุดเล็กขนาด 1-2 มิลลิเมตร ถึง 5-10 มิลลิเมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของถั่วเหลือง อาการบนกิ่งก้านและลำต้น พบจุดสีดำเล็ก ๆ เกิดขึ้นทั่วไปบนผิวชั้นนอกของกิ่งก้านและทุกส่วนของลำต้นอาการบนฝัก  พบจุดสีดำเล็ก ๆ บนฝักทั่วไปทั้งฝัก หรือแสดงลักษณะของวงสีดำซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เมล็ดในฝักมักลีบหรือย่น เป็นรอยแผลสีน้ำตาล และทำให้เปอร์เซนต์ความงอกลดลงอย่างมาก การป้องกันกำจัด
                1. คลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารเคมีกำจัดเชื้อรา
                2. ปลูกพืชหมุนเสียน
                3. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่สะอาดปราศจากโรคและมีความงอกสูง
                4. ทำความสะอาดแปลงปลูก โดยการเก็บเศษซากต้นถั่วเหลืองเผาไฟ
                5. ในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดไม่ควรปลูกถั่วเหลืองในฤดูฝน หรือพยายามวางแผนการปลูก ให้ช่วงที่ถั่วเหลืองติดฝักจนเก็บเกี่ยวไม่มีฝนตกมากนัก
                6. ระยะฝักอ่อนหากมีโรคระบาดใช้สารเคมีแมนโคเซบ หรือแคปแทนฉีดพ่น
             6.โรคที่เกิดจากเชื้อรา อาการใบหด ย่น หรือหงิก ต้นถั่วเหลืองแสดงอาการต้นเตี้ย กิ่งข้อและก้านใบสั้น แคระแกร็น ใบย่นเป็นคลื่น ใบแคบ ขอบใบม้วนลง มักมีสีเขียวเข้มกว่าปกติ บางครั้งใบอ่อนที่แตกมาใหม่ ๆ ใบจะย่น เส้นใบสีเหลืองซีดถึงสีขาว ต้นถั่วที่เป็นโรคนี้จะไม่ค่อยติดฝัก โรคนี้มีแมลงหวี่ขาวเป็นแมลงพาหะ อาการใบด่าง ต้นถั่วเหลืองแสดงอาการใบด่าง เป็นดวง แคระแกร็น ใบไม่ย่น อาการที่ปรากฏมักเห็นชัดเจนในใบอ่อน บางครั้งใบอ่อนที่แสดงอาการต่างอาจย่นเล็กน้อย อาการที่พบจะมากเมื่อถั่วเหลืองเริ่มออกดอก ในพันธุ์ที่อ่อนแอ นอกจากอาการใบด่างแคระแกร็นแล้ว ยังทำให้ยอดแห้งตายอีกด้วย ต้นเป็นโรคจะออกดอกตามปกติ แต่มีจำนวนน้อยและเมล็ดไม่สมบูรณ์ โรคนี้มีเพลี้ยอ่อนเป็นแมลงพาหะ    การป้องกันกำจัด
                1. นำต้นที่เป็นโรคไปเผาทิ้ง
                2. พ่นสารฆ่าแมลงที่เป็นพาหะของโรค เช่น มาลาไธออน, ไดเมทโธเอท
                3. หลังการเก็บเกี่ยว ควรทำลายต้นพืชที่หลงเหลืออยู่ในแปลงปลูก

ข้อมูล : http://www.ndoae.doae.go.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น